สังคยานา “โครงสร้างภาษีบุหรี่”ใหม่

สังคยานา “โครงสร้างภาษีบุหรี่”ใหม่

นักวิชาการชี้ ถึงเวลาสังคยานาโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ ต้องให้ภาคสุขภาพมีส่วนร่วม แนะเร่งออกกฎคุมราคาขายปลีกขั้นต่ำ

ไม่เปิดช่องให้บุหรี่ลดราคา เหตุทำรัฐเสียหายนับหมื่นล้านบาทการปรับ”โครงสร้างภาษีบุหรี่” และการขึ้นภาษียาสูบดำเนินการโดยกรมสรรพสามิตเพียงหน่วยงานเดียว ส่งผลกระทบคือ หลังจากการขึ้นภาษีบุหรี่เมื่อปี 2560 ได้กำหนดอัตราภาษีบุหรี่เป็น 2 อัตรา

โดยบุหรี่ราคาไม่เกินซองละ 60 บาท เสียภาษีร้อยละ 20 ส่วนบุหรี่ที่ราคาเกินซองละ 60 บาท เสียภาษีร้อยละ 40 ส่งผลให้บุหรี่ไทยมีราคาสูงขึ้นและขายได้น้อยลง แต่บุหรี่ต่างประเทศราคาถูกลงและขายได้มากขึ้น

เศรษฐ ศาสตร์

 

นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่าขอกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีได้ทราบความจริงข้อนี้ และได้โปรดสั่งการให้ฝ่ายสาธารณสุข มหาวิทยาลัย และภาคประชาสังคมที่มีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาภาษีบุหรี่ด้วย เพื่อประสิทธิภาพการควบคุมยาสูบของประเทศ

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้เคยเสนอว่า การขึ้นราคาบุหรี่มีประสิทธิภาพสูงในการลดความต้องการบริโภค ราคาบุหรี่ที่สูงขึ้นช่วยหยุดและป้องกันการเริ่มใช้ยาสูบได้ และช่วยลดการบริโภคในกลุ่มผู้สูบต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยแล้วการเพิ่มราคาบุหรี่ ร้อยละ 10 จะลดความต้องการสูบบุหรี่ได้ประมาณ ร้อยละ 4 ในประเทศที่มีรายได้สูง และประมาณร้อยละ 5 ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง

รศ.ดร.สุชาดา ตั้งทางธรรม ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า บุหรี่เป็นสินค้าอันตราย สามารถฆ่าคนได้ รัฐจึงต้องแทรกแซงให้มีราคาสูงขึ้น เพื่อควบคุมไม่ให้มีการเข้าถึงได้ง่าย อย่างบุหรี่นอกที่เดิมขายซองละ 70-72 บาทนั้น ก็ควรจะต้องเสียภาษีที่ร้อยละ 40 ของราคาขายปลีกแนะนำ ไม่ใช่ปล่อยให้ราคาลดลงเหลือ 60 บาท ทำให้เสียภาษีสรรพสามิตลดลงเหลือร้อยละ 20 คือลดลงถึงซองละเกือบ 10 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ธนาคารกรุงเทพแจ้งตลาดหลักทรัพย์ ตั้ง ปรีดี ดาวฉาย เข้านั่งกรรมการอิสระ